หลังจากที่ Adobe ได้ยกธงขาวยอมเเพ้หยุดการพัฒนา Adobe Flash บนอุปกรณ์พกพาเเล้ว ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Adobe ก็ได้ออกมาเเสดงความเห็นถึงปัญหา สาเหตุ เเละอนาคตของ Adobe ไว้ในบล็อกส่วนตัว
ในบทความได้กล่าวถึงสาเหตุว่าทำไม Adobe ถึงหยุดพัฒนา Flash บนอุปกรณ์พกพาว่าโดยมีปัญหาหลักอยู่ที่ Flash ไม่เเพร่หลายบนมือถือเหมือนกับบน Desktop เเละหนึ่งในต้นเหตุนั่นก็คือผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Apple ที่มีส่วนเเบ่งบนตลาดพกพามากที่สุดนั้นไม่สนับสนุน Flash เข้าไปใน Browser ของตน เเละ Apple นั้นสนับสนุน HTML5 อย่างเต็มตัว ทำให้นักพัฒนาเบนเข็มไปหา HTML5 เเทน เนื่องจากHTML5 มีฐานใหญ่มากเพราะ Browser บนอุปกรณ์พกพาสมัยใหม่อย่าง iOS เเละ Android ก็สนับสนุน HTML5 ทั้งหมด นอกจากนี้ HTML5 นั้นมีฟีเจอร์หลายอย่างที่สามารถทำงานเเทน Flash ได้ จึงทำให้ Flash ไม่ได้รับความนิยม
โดยธรรมชาติของผู้ใช้งานบนอุปกรณ์พกพานั้นมีมักจะดูเนื้อหาผ่านเเอพลิเคชัน ส่วน Browser สมัยใหม่บนมือถือนั้นก็มีสนับสนุนฟีเจอร์หลายอย่างที่ Flash ทำได้ผ่าน HTML5 ทำให้ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Flash ไม่สามารถมีบทบาทได้สูงเหมือนบน Desktop นอกจากนี้เเล้วยังมีต้นทุนในการพัฒนา Flash ที่สูงเพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต OS อย่าง Google, RIM ผู้ผลิตฮาร์ดเเวร์อย่าง Motorola, Samsung รวมไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนอย่าง NVIDIA เพื่อปรับเเต่งให้ Flash รันบนตัวประมวลผลชนิดนั้นได้ดีขึ้น? นอกจากปัญหาว่ามีคนใช้เป็นจำนวนน้อยเเล้ว ทำให้การพัฒนา Flash บนมือถือนั้นไม่คุ้มค่าอีกต่างหาก
จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ยุทธศาตร์ของ Adobe ต้องเปลี่ยนไป โดยตลาดพกพาอย่างมือถือเเละเเท็บเล็ตนั้นจะเน้นไปที่ HTML 5 เเทน Adobe จะหันมาสร้างเครื่องมือที่ใช้พัฒนาคอนเทนท์ HTML5 เเทนบนมือถือ ส่วน? Flash นั้นจะเน้นไปที่ Desktop ที่ยังเป็นฐานที่มั่นของ Adobe อยู่
สุดท้ายนี้เค้ายังให้ความเห็นเกี่ยวกับ Flash เเละ HTML5 ว่าถึงเเม้ว่า HTML5 จะนำฟีเจอร์ที่ได้รับความนิยมบน Flash ไปใช้อยู่ตลอด เเต่นั่นหมายความว่า Adobe ยังคงเป็นผู้กำหนดทิศทางของคอนเทนท์ที่ให้ประสบการณ์ระดับสูง (Rich Content) ต่อไป เเละการทำงานบนเเพลตฟอร์ม Flash นั้นทำให้รู้ถึงเเนวโน้มเเละมีประสบการณ์ในการทำเนื้อหาดังกล่างบนชุมชนบนนักพัฒนา Flash ก่อน HTML 5 เสียอีก เเละยังมีลูกค้าหลายรายที่มีความเชื่อมั่นใน Flash ที่เป็นมาตรฐานมายาวนานมากกว่าเเพลตฟอร์มที่ยังไม่สมบูรณ์นักอย่าง HTML5
ที่มา : Theverge, Mike Chambers Blog