Acer Clear.fi
อย่างตัวอย่างในรูปจะเห็นว่าซอฟเเวร์เห็นเครื่อง PC ด้วย ถ้าเรามีซอฟเเวร์ Clear.Fi ลงเอาไว้ก็สามารถเปิดเเชร์ให้กับเเท็บเล็ตได้ครับ
เเอพที่ไว้รวมหมวดของเเอพลิเคชั่น ก็จะมี Multimedia, eReading, Games, เเละ Social ซึ่งเราสามารถเพิ่มเเอพพลิเคชั่นต่างๆด้วยด้วยปุ่มบวกตรงมุมขวาบน ทำให้เราไม่ต้องไปงมกับเเอพใน Launcher เเต่จริงๆเเล้วเเอพที่มีความสามารถเเบบนี้ก็มีให้โหลดใน Market เเต่เพิ่มมาให้ใช้ก็สะดวกดี
Social Jogger
Social Jogger เป็นตัวรวม Social Media สองตัวคือ Facebook เเละ Twitter การดูเนื้อหาจะเเยกตามคอนเทนท์เป็นหลัก (รูป, ลิงค์) ที่เห็นเเล้วดีที่สุดคงเป็นความสามารถที่อัพเดทสเตตัสเเละเฟซบุคไปพร้อมกัน หน้าตาถูกปรับให้เหมาะกับเเท็บเล็ตมากขึ้นเเต่ยังคงดีไซน์เอาไว้เหมือนเดิม
Nemo Player
ตัวเล่นมีเดียประจำเครื่องของ Acer อีกตัว ที่สะดวกคือมันเป็นตัวเล่นเพลง รูปภาพ เเละไฟล์วีดีโอในตัว ซึ่งเป็นไฟล์สามประเภทที่เราใช้บ่อยที่สุด เเต่ถ้าไม่ชอบหน้าตาก็เปลี่ยนไปใช้ตัวอื่นๆได้ตามสะดวก
Usage/ Performance / Battery Life
ในเเง่การใช้งานทั่วไป ถ้าเปรียบเทียบกับ Android รุ่นก่อนหน้า บอกได้เลยว่าดีกว่าเเท็บเล็ต Android ก่อนหน้าทุกตัว รวมถึง Galaxy Tab ตัวนี้คือเเอนดรอยด์ที่เป็นเเท็บเล็ตจริงๆ ในในเเง่การใช้งานเเละขนาด เเต่ด้วยเนื่องจากหน้าจอที่มีความละเอียดสูงมากกว่าสมาร์ทโฟน (1280 x 800) ทำให้ประสิทธิภาพของ Tegra 2 นั้นตกลงไป เเต่ก็ยังอยู่ในขั้นที่ดีกว่าเเท็บเล็ต Android ตัวเก่าๆ เเต่ถ้าเป็นในเเง่ของการเล่นเกมส์นั้น การเล่นบนสมาร์ทโฟนอย่างบน LG Optimus 2Xจะให้ความลื่นมากกว่าบนเเท็บเล็ต ตัวประมวลผล Tegra 2 ดึงความสวยงามเเละความหวือหวาของ Honeycomb ออกมาได้อย่างดี เเต่ถ้าเปรียบเทียบกับ iPad นั้นถือว่าสูสี เเต่ถ้าเทียบกับ iPad 2 นั้นยังคงตามหลังอยู่สำหรับความลื่นในการใช้งาน
การเล่นไฟล์วีดีโอนั้น สนับสนุนเเค่ MP4 เเละ 3GP (ไฟล์คลิปทั่วไป) โดยสามารถเล่นไฟล์ AVI ได้ด้วยถ้าโหลดเเอพเพิ่ม ซึ่งคาดว่าไฟล์ AVI ไม่สนับสนุนการใช้ GPU ช่วยประมวลผล เเต่ก็สามารถเล่นไฟล์ 720p ได้สบายๆไม่มีการอาการกระตุกให้เห็น
ส่วนเเบตเตอรี่นั้นเขียนว่าเป็น Lithium-Polymer มีขนาด 3260 mAh การใช้งานนั้นเมื่อเปิด Brightness จนสุดตลอดเเละเล่นประมาณ 3 ชั่วโมง ทั้งเล่นเกมส์ อินเตอร์เน็ต อ่าน PDF เเบตเตอรี่ลดจาก 96 เปอร์เซ็นต์เหลือ 63 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าถ้าใช้งานปกติทั่วๆไปนั้นใช้เกิน 6 ชั่วโมงได้สบายๆ ซึ่งเพียงพอกับการใช้งานหนักๆได้หมดวันโดยไม่ต้องกังวลเรื่อบเเบตเตอรี่ครับ
ด้วยความที่หน้าจอขนาด 10.1 นิ้วทำให้การอ่านเอกสารต่างๆเป็นไปได้ง่าย เเต่ด้วยอัตราส่วน 16 : 10 นั้นทำให้เเสดงผลเเปลกๆไป ไม่สวยเหมือนกับบน iPad เเต่ก็ไม่มีปัญหาเท่าไรนัก ตัวอักษรอ่านได้ชัดเจน ภาษาไทยทั้งหมดซัพพอร์ทดี คีย์บอร์ดไทยตอนนี้มี Tswipe เท่านั้นที่พอจะใช้งานบน Honeycomb ได้เเต่ต้องอาศัยการปรับนิดหน่อย
Camera
สำหรับในกล้องดิจิตอลที่ติดตัวมาใน Acer ICONIA Tab A500 นั้น ก็ดูมีความน่าสนใจ ด้วยสเปกกล้องหลังที่มีความละเอียดระดับ 5 ล้านพิกเซลและความละเอียดของกล้องหน้า 2 ล้านพิกเซลไว้สำหรับ VDO Call โดยใช้เซ็นเซอร์เป็นประเภท CMOS ที่อุปกรณ์พกพานั้นนิยมใช้งานกัน โดยทั่วไปใช้กันจึงถ่ายทอดสีสันได้อย่างสมจริงบ้าง ไม่สมจริงบ้างในที่แสงน้อย เพราะเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็ก สำหรับในโหมดวีดีโอถ่ายได้ความละเอียดสูงสุดคือ HD 720P ครับ โดยนามสกุลไฟล์จะเป็น .3gp ที่จัดได้ว่าประเภทไฟล์ที่ส่วนมากใช้ในมือถือสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว
แต่ที่เป็นจุดเด่นน่าและน่าสนใจของ Acer ICONIA Tab A500 นั่นก็คือเป็นแท็บเล็ตตัวแรก ที่ได้มีการติดตั้ง LED แฟลชมาให้ในตัวด้วย จึงทำให้การถ่ายภาพในที่แสงน้อยหรือที่มืดได้สว่างมากยิ่ง เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังมีระบบ Auto Focus ที่จะค่อยปรับโฟกัสให้ภาพที่ถ่ายออกมามีความคมชัดเท่าที่จะเป็นไปได้ (บอกตามตรงว่า ไม่ได้ทำให้ภาพสวยขึ้นแต่อย่างใดนะครับ)
ในส่วนของหน้าตาการใช้งานของแอพพลิเคชั่นกล้องพื้นฐานของ Android Honeycomb 3.0 ก็ได้รับการพัฒนามาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จัดได้ว่ามีรูปแบบที่สวยงาม ส่งผลให้การใช้งานเครื่องมือต่างๆ ในการปรับภาพนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น อาทิ เช่น การเปิด-ปิดแฟลช, การปรับ White Balance, Color Effect, คุณภาพของภาพถ่าย และหน่วงเวลาการถ่าย นอกเหนือจากนั้นยังมีการเลือกโหมดกล้องภาพนิ่งหรือวีดีโอ รวมไปถึงสุดท้ายที่มีมาในเฉพาะ Acer ICONIA Tab A500 ที่เราสามารถที่จะเลือกบันทึกภาพลงหน่วยความจำภายใน หรือการ์ดความจำภายนอกได้
สรุปคือพอใช้ได้กับคุณภาพของกล้องภาพนิ่งและการใช้งานวีดีโอของแท็บเล็ต Acer ICONIA Tab A500 ที่โดยส่วนตัวค่อนข้างที่จะตอบสนองความต้องการในการบันทึกภาพต่างๆ ได้ประมาณนึง (เพราะว่าทำใจเอาไว้แล้ว ฮา) แต่ยังไงก็ขอบอกตรงนี้เลยนะครับว่าอย่าไปคาดหวังอะไรมาก เพราะด้วยความที่เป็นแท็บเล็ตไม่ได้ใช้ถ่ายภาพเป็นหลัก รวมไปถึงด้วยหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การที่เราถ่ายภาพซักหนึ่งภาพ คนที่อยู่ข้างหลังเราก็จะเห็นหมด แบบว่าไม่มีความเป็นส่วนตัวเสียเลย สำหรับคุณภาพของภาพยังไงก็ลองตัดสินกันผ่านภาพตัวอย่างที่ลองบันทึกมาทั้งภาพนิ่งและวีดีโอก็แล้วกันนะครับว่า เป็นอย่างไรกันบ้าง เพราะแต่ละคนคงพอใจไม่เหมือนกัน 🙂 ดูตัวอย่างกับคลิปอัดจาก Iconia Tab A500 ได้ด้านล่างครับ
Conclusion
ส่วนตัวก็ประทับใจกับ Iconia Tab A500 พอสมควร เพราะสิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นปัญหาได้ถูกเเก้ไขขึ้นมาก ทั้งความเร็วเเละวัสดุที่เป็นปัญหาหลักๆของค่ายนี้ ทำให้เราเห็นว่า Acer จริงจังกับการพัฒนาสินค้าของตนให้ตรงกับผู้บริโภคมากขึ้น Iconia Tab A500 ตัวนี้ถือเป็นเเท็บเล็ตระดับไฮเอนด์เเละมีอนาคตค่อนข้างดีในเเง่ของการใช้งานด้วยตัวขจองมันเอง โดย A500 ตัวนี้ไม่มี UI ครอบเหมือนบนสมาร์ทโฟนจึงไม่มีอาการหน่วงให้เห็น (น่าจะเป็นข้อดีวำหรับบางคน : P) อีกทั้งตอนนี้มีห้องสำหรับ A500 บน XDA Developer ที่เป็นเเหล่งนักพัฒนาบน Android ด้วย เราอาจจะเห็นรอมที่ปรับเเต่งหรือลูกเล่นต่างๆบนเครื่องนี้ได้อีกมาก
เเต่ว่าในประเทศไทยนั้น Acer นำรุ่น Wi-Fi มาขายเพียงรุ่นเดียวคือ 32 GB ราคาเมื่อบวกเเวตเเล้วขึ้นไปถึงประมาณ 19,000 บาท ซึ่งค่อนข้างสูงเหมือนกัน เเต่ถ้าเราดูให้ดีเเล้ว iPad Wi-Fi 32 GB ก็ราคาอยู่ที่ 18,900 บาท ซึ่งไม่เเตกต่างกันเท่าไรนัก เเต่เสียดายที่ว่าราคาที่เริ่มต้น 19,000 บาทนี้ทำให้คนเอนเอียงไปทาง iPad ที่เริ่มต้นเเค่ 15,900 บาทได้เหมือนกัน นอกจากนี้ ได้ข่าวมาว่ารุ่น 3G ก็จะออกมาเร็วๆนี้ ถ้าใครสนใจอยู่ก็ดูรีวิวนี้ไว้เป็นข้อมูลการตัดสินใจได้ครับ ถ้าใครอยากลองของใหม่อย่าง Honeycomb ไวๆตัว Acer นี้ก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ดี เพราะตัวนี้คงไม่น่าโดนทิ้งเรื่องซอฟเเวร์อัพเดทง่ายๆอีกเเล้ว (ถึงมีก็หารอมโมได้เอง)
The Good
- ตัวประมวล Tegra 2 สามารถใช้งานเเละเล่นเกมส์ได้มีประสิทธิภาพดีที่สุดของ Android ในขณะนี้
- วัสดุดีกว่า Acer ปีก่อนมาก
- มีพอร์ท USB 2.0 เสียบกับอุปกรณ์อื่นๆได้สะดวก
The Bad
- ซอฟเเวร์ของ Acer ไม่ค่อยเข้ากับหน้าตาของ Honeycomb
- หนักสำหรับบางคน
- ปุ่มเพิ่มเสียงด้านบนนั้นเเข็งไปเล็กน้อย กดบ่อยๆมีเจ็บนิ้วได้
The Miss
- อยากได้จอเเบบ IPS เเบบ iPad หรือ Asus EEE pad Transformer บ้าง