ทีโอทีปลดบ่วงให้บริการ 3G ทั่วไทย
แถม 4G ให้ใช้ในอีก 300 สถานีทั่วไทย?
?24 ก.พ.56 บมจ.ทีโอที เตรียมตัวแล้วให้บริการ 3G ทั่วประเทศได้ เพื่อฉลองวันเกิดให้กับทีโอที พร้อมกับโชคสองชั้นคนไทยได้ใช้ 4G อีก 300 สถานีฐาน บริเวณพื้นที่สำคัญ มั่นใจเครือข่ายพร้อมทำการตลาดจริงจัง ทดแทนรายได้หลังสัมปทาน
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า วันที่ 24 ก.พ.56 ที่จะถึง ทีโอที จะสามารถเปิดให้บริการ 3G ทั่วประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบถือว่าเป็นการฉลองวันเกิดให้กับทีโอทีด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทีโอที เหลือสถานีฐานที่ยังติดตั้งไม่เสร็จอยู่ที่ 700 สถานีฐาน จากทั้งหมดที่จะต้องติดตั้งกว่า 5 พันสถานีฐาน แต่มั่นใจว่าหากทีโอที เปิดให้บริการครบจำนวนสถานีฐานแล้ว จะทำให้ประสิทธิภาพในการให้บริการเหนือกว่าคู่แข่งแน่นอน
แม้ที่ผ่านมา..ก่อนหน้านี้ที่บริษัทเอกชนที่ทำ MVNO กับทีโอที ไม่ประสบความสำเร็จ แต่จะมีเพียง กลุ่ม บริษัท สามารถ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART เท่านั้นที่ดูเหมือนจะทำการตลาดได้ดีกว่ารายอื่น เนื่องจากที่ผ่านมา ทีโอที ติดปัญหาในเรื่องของสถานีฐานเพื่อให้บริการที่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ จึงทำให้ผู้ให้บริการ MVNO ไม่สามารถทำการตลาดได้ ซึ่งก็เช่นเดียวกับทีโอที ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถทำการประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบ
“24 ก.พ.56 นี้ ทีโอทีจะเปิดให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการ พร้อมกับเปิดบริการ 4G ประมาณ 300 สถานีฐานในพื้นที่สำคัญ โดยการแบ่งคลื่น 2.1 GHz ที่ปัจจุบันทำ 3G มาเปิดให้บริการ 4G ไปพร้อมกัน? น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว
ขณะที่แผนการดำเนินธุรกิจหลังหมดสัญญาสัมปทานระหว่าง ทีโอที กับ เอไอเอส ทีโอทีจะต้องเป็นเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (network provider) ที่สมบูรณ์แบบที่สุด และในส่วนของทรัพย์สินหลังหมดสัญญาสัมปทานที่เอไอเอส จะต้องคืนให้ ทีโอทีโดยการโอนอุปกรณ์โครงข่ายและทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน (BTO) ในปี 2558 นั้น จะไม่รอเตรียมแผนในปีที่เอไอเอสหมดสัญญาสัมปทาน เพราะสิ่งที่เอไอเอสจะต้องทำ คือ ลงทุนหรือติดตั้งบนโครงข่ายทั้งหมดต้องเป็นของทีโอที ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่เอไอเอสควรลงทุนเพิ่มแล้ว เพื่อเหลือเวลาใช้งานอีกเพียง 2-3 ปีต่อจากนี้
สำคัญพอกัน..ทีโอที จะตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ โดยจ้างบริษัทที่เป็นกลางสำหรับ ทีโอที และเอไอเอส ขึ้นมา เพื่อรวมเอาเสาโทรคมนาคม และสถานีฐานที่ได้รับจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเอกชนตามสัญญาร่วมการงาน มาให้เช่าใช้บริการเพื่อสร้างรายได้ พร้อมคำนวณเป็นมูลค่าทรัพย์สิน ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนหรือหุ้นนั้นก็ว่ากันไป โดยเชื่อว่า เมื่อดำเนินกิจการไปซักระยะและสามารถสร้างกำไรก็ต่อยอดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ทั้งนี้ การดำเนินงานจะต้องดำเนินไปให้ถูกต้องตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมและดำเนินงานในกิจการของรัฐพ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ด้วย
“บางคนบอกว่าให้รอสัมปทานใกล้หมดค่อยทำ แต่เราจะไม่รอ เพราะการเตรียมการไว้ล่วงหน้าก็จะเป็นเรื่องดีทั้ง ทีโอที และเอไอเอส ที่จะได้ร่วมธุรกิจ วิน วิน ทั้งคู่? น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวสรุป
ที่มา?adslthailand