รีวิวฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-shock พร้อมการทดสอบทุบ สับ กระแทกของจริง

อุปกรณ์เสริมสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่มากับสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตมาอย่างยาวนาน จนแทบจะกลายเป็นของจำเป็นที่ผู้ใช้ต้องซื้อหลังซื้อมือถือใหม่กันไปแล้วก็คือตัวของฟิล์มกันรอยหน้าจอ ที่มีจุดประสงค์หลักก็คือช่วยในการปกป้องหน้าจอจากรอยขีดข่วน การกระแทก หรือในบางชนิดก็ช่วยเพิ่มความสวยงามและความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น แม้ในระยะหลังๆ เราจะเริ่มเห็นสินค้าประเภทอื่นที่สามารถป้องกันหน้าจอเข้ามาทำตลาดบ้าง เช่นกระจกกันรอย แต่ด้วยความที่เป็นกระจก ก็ทำให้หน้าจอมีความหนาขึ้น จนอาจจะหาเคสใส่ได้ลำบาก ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรแม้กระจกจะแข็งแรงกว่าฟิล์ม แต่ก็ทำให้ใช้งานไม่ค่อยสะดวก ทั้งยังมีราคาสูงกว่าฟิล์มกันรอยอีกด้วย ทำให้ผู้ที่อยากได้อุปกรณ์เสริมสำหรับป้องกันหน้าจอมีตัวเลือกในตลาดไม่ค่อยมากนัก

แต่คราวนี้เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงสบายใจขึ้นบ้างไม่น้อยเลยทีเดียวครับ เมื่อ Focus ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายฟิล์มกันรอยที่มียอดขายอันดับ 1 ในไทยในช่วงปีที่ผ่านมา ได้นำฟิล์มชนิดใหม่เข้ามาทำตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของหลายๆ ท่านมากยิ่งขึ้น ซึ่งฟิล์มชนิดใหม่ที่ว่านั้นก็คือฟิล์ม Focus Anti-Shock มีจุดเด่นคือเป็นฟิล์มที่สามารถป้องกันแรงกระแทกได้ดีกว่าฟิล์มกันรอยทั่วๆ ไป ในคราวนี้เราจะมาดูกันครับว่าฟิล์ม Focus Anti-Shock จะสามารถทำหน้าที่ได้ดีขนาดไหน

คุณสมบัติของฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock

lk

หลักการช่วยป้องกันแรงกระแทกของฟิล์ม Focus Anti-Shock ก็คือตัวชั้นฟิล์มจะมีหน้าที่ในการดูดซับและกระจายแรงกระแทกออกไปทั่วเนื้อแผ่นฟิล์ม ทำให้แรงกระแทกที่กดลงมาตรงจุดกระแทกเบาบางลงจนไม่ส่งแรงลงไปถึงหน้าจอที่เป็นกระจกครับ โดยเนื้อฟิล์มจะมีชั้นฟิล์มภายในอยู่ 4 ชั้นที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยชั้นที่ช่วยดูดซับและกระจายแรงกระแทกคือชั้นพิเศษที่เพิ่มเข้ามา นั่นคือ Shock Absorptive & Highly Flexible Layer

layer

นอกจากนี้ ฟิล์ม Focus Anti-Shock ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ด้วย เช่น

  • ผิวฟิล์มมีความทนทาน ช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี
  • ช่วยป้องกันคราบรอยนิ้วมือจากการใช้งานได้
  • คงสีสันและความคมชัดของหน้าจอเอาไว้ได้แทบจะ 100% เนื่องจากเป็นฟิล์มแบบใส ทั้งยังไม่เกิดแสงสีรุ้งเวลาใช้งานเหมือนกับฟิล์มราคาถูกๆ อีกด้วย

Screen Shot 2013 10 24 at 3.12.43 PM

เรียกได้ว่าฟิล์ม Focus Anti-Shock นี้มีคุณสมบัติโดยทั่วไปที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ต้องการเอาไว้อย่างครบถ้วนทีเดียว แถมยังเหนือกว่าฟิล์มทั่วไปตรงที่มีความสามารถในการป้องกันแรงกระแทกจากการใช้งานหรืออุบัติเหตุทั่วไปได้อีกต่างหาก

การทดสอบเชิงวิชาการ

ทาง Focus เองได้ทำการทดสอบฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock ซึ่งก็ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการของภาควิชาวิศวกรรมการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมาเรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างการทดสอบก็เช่น

Screen Shot 2013 10 24 at 1.54.10 PM

การทดสอบหย่อนลูกเหล็ก

เป็นการทดสอบความแข็งแรงต่อการป้องกันแรงกระแทก ด้วยการใช้ลูกเหล็กน้ำหนักเดียวกัน ทดสอบหย่อนลงมาจากความสูงแตกต่างกันหลายๆ ระยะ โดยทดสอบเปรียบเทียบกัน ระหว่าง

  • แผ่นกระจก Tempered Glass ที่ไม่ติดฟิล์มกันรอย จำนวน 5 แผ่น
  • แผ่นกระจก Tempered Glass ที่ติดฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock จำนวน 5 แผ่น

Screen Shot 2013 10 24 at 1.56.04 PM

ผลออกมาก็คือกระจกที่ติดฟิล์ม Focus Anti-Shock สามารถป้องกันการแตกร้าวของกระจกได้ดีกว่ากระจกที่ไม่ติดฟิล์มกันรอยได้เกือบ 2 เท่า (แบบไม่ติด กระจกเริ่มแตกที่ 24 เซนติเมตร ส่วนแบบติดฟิล์มกระจกเริม่แตกที่ 42 เซนติเมตร)

Screen Shot 2013 10 24 at 2.06.20 PM

ส่วนการทดสอบหย่อนลูกเหล็กอีกแบบเป็นการหย่อนลูกเหล็กที่น้ำหนักแตกต่างกันคือ 226.8 กับ 359.1 กรัมแบบอิสระลงบนหน้าจอ iPad mini ที่ติดฟิล์มกันรอย Focus แบบปกติ กับแบบที่ติดฟิล์มกระแทก Focus Anti-Shock อยู่

Screen Shot 2013 10 24 at 2.02.18 PM

ผลออกมาก็คือ

  • เครื่องที่ติดฟิล์มกันรอยปกติ หน้าจอเริ่มแตกร้าวเมื่อหย่อนลูกเหล็กหนัก 226.8 กรัมที่ความสูง 60 เซนติเมตร
  • เครื่องที่ติดฟิล์มกันกระแทก หน้าจอเริ่มแตกร้าวเมื่อหย่อนลูกเหล็กหนัก 359.1 กรัมที่ความสูง 60 เซนติเมตร (เทียบเท่ากับระยะความสูง 103 เซนติเมตร ถ้าใช้ลูกเหล็ก 226.8 กรัม)

โดยคลิปทดสอบที่มีการทดสอบจริงที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือก็ตามด้านล่างนี้เลยครับ

ส่วนคลิปทดสอบที่เป็น TVC ก็ตามด้านล่างนี้ครับ

คลิปการปล่อยลูกเหล็ก

คลิปการทดสอบฟิล์มกันกระแทกด้วยเครื่องมือต่างๆ

ต่อไปมาดูในส่วนรีวิวของทาง SpecPhone เราเองบ้างครับ

Review Focus Antishock Film Specphone 022

ฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock จะมีวางจำหน่ายให้ได้เลือกซื้อหากันได้สำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตยอดนิยมแทบทุกรุ่นในตลาดเลยครับ โดยเครื่องที่เราจะทดสอบในครั้งนี้ก็คือ iPad 4

Review Focus Antishock Film Specphone 025

Review Focus Antishock Film Specphone 026Review Focus Antishock Film Specphone 027

ตัวแพ็คเกจจะมีตัวอักษรบอกชนิดของฟิล์มชัดเจนเลยว่าเป็นประเภทป้องกันแรงกระแทก โดยสังเกตได้จากคำว่า AS Anti-Shock ที่อยู่หน้าและหลังซอง รวมถึงสีก็เลือกใช้เป็นสีแดงเลือดหมู ช่วยให้สังเกตและจดจำได้ง่าย เพราะฟิล์มแต่ละชนิดของ Focus จะมีสีสันหน้าซองที่แตกต่างกันอยู่แล้ว

สำหรับใครที่ต้องการซื้อฟิล์มมาติดเองก็สามารถทำได้เช่นกันครับ มีเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้นเอง สรุปง่ายๆ คือให้ทำความสะอาดจอให้เรียบร้อยก่อน ใช้ผ้าเช็ด ถ้ามีฝุ่นก็ใช้เทปกาวแปะแล้วดึงฝุ่นออก เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ลอกแผ่นฟิล์มที่ติดเลข 1 ไว้ออก แล้วนำฟิล์มด้านนั้นติดลงไปบนจอ เมื่อติดและไล่ฟองอากาศเรียบร้อยแล้ว ก็ค่อยลอกฟิล์มแผ่นที่ติดเลข 2 เอาไว้ออก เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

Review Focus Antishock Film Specphone 020

ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบความแข็งแกร่งของฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock ในครั้งนี้มีด้วยกัน 4 อย่างครับ ได้แก่ กระบองไม้ (หนักเอาเรื่องเหมือนกัน), มีดปังตอ, ประแจเลื่อน และค้อน ทดสอบบนจอ iPad ที่ติดฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock เอาไว้

Review Focus Antishock Film Specphone 016

Review Focus Antishock Film Specphone 017Review Focus Antishock Film Specphone 018

เริ่มด้วยกระบองกันก่อนครับ วิธีก็คือตีกระบองเข้าไปตรงกลางจอ หวดลงไปแรงพอสมควร

Review Focus Antishock Film Specphone 013

Review Focus Antishock Film Specphone 014Review Focus Antishock Film Specphone 015

ต่อมาก็เป็นประแจเลื่อน ทดสอบโดยการทุบสันของประแจลงไปกลางจอตรงๆ

Review Focus Antishock Film Specphone 010

Review Focus Antishock Film Specphone 011Review Focus Antishock Film Specphone 012

อันดับที่สามเป็นมีดปังตอครับ การทดสอบก็เป็นแบบเดียวกัน คือสับมีดลงไปกลางจอ โดยพยายามย้ำตรงจุดเดิมกับที่ตีกระบองและทุบประแจลงไปก่อนหน้านี้ ผลออกมาก็คือที่ฟิล์มเริ่มเป็นรอยขึ้นมาเล็กน้อย แต่ฟิล์มยังไม่ฉีกขาดนะครับ แค่เป็นรอยตรงส่วนผิวเท่านั้น

Review Focus Antishock Film Specphone 009

Review Focus Antishock Film Specphone 008Review Focus Antishock Film Specphone 007

สุดท้ายก็คือการเอาค้อนทุบลงไปตรงกลางจอ 3 ครั้ง เมื่อทดสอบทั้ง 4 แบบเสร็จแล้ว ลองลอกฟิล์มออกดู พบว่าหน้าจอยังสวยใส ไร้ร่องรอยอยู่เลยครับ โดยทางเราได้ถ่ายคลิปช่วงที่ทดสอบกับอุปกรณ์ทั้ง 4 อย่างด้วย ตามด้านล่างนี้

หลังจากชมการทดสอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ไปแล้ว คราวนี้มาดูตัวอย่างรูปแบบของอุบัติเหตุที่มีสิทธิ์เจอได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนบนหน้าจอได้ โดย iPad สีดำทำการติดฟิล์มกันรอย Focus แบบธรรมดา ส่วน iPad เครื่องสีขาวติดฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock ครับ (ลอกฟิล์มเก่าเมื่อกี้ แล้วติดฟิล์มแผ่นใหม่)

Review Focus Antishock Film Specphone 005

Review Focus Antishock Film Specphone 006

การทดสอบก็คือการขูดหน้าจอด้วยลูกกุญแจ โดยใช้แรงกดแบบตั้งใจขูดจอ ผลออกมาก็คือ iPad เครื่องที่ติดฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock มีรอยขีดข่วนบนฟิล์มน้อยกว่าฟิล์มแบบปกติอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าในชีวิตประจำวันจริงๆ การขีดข่วนของลูกกุญแจคงไม่ได้กดลงบนหน้าจอหนักเท่าตอนที่ทดสอบ ดังนั้นโอกาสที่หน้าจอซึ่งติดฟิล์ม Anti-Shock เอาไว้จะเป็นรอยก็ยิ่งน้อยลงไปอีก

Review Focus Antishock Film Specphone 001

Review Focus Antishock Film Specphone 002Review Focus Antishock Film Specphone 003

เทียบกันชัดๆ ครับ ระหว่าง iPad ฟิล์มธรรมดา (ดำ) และ iPad ติดฟิล์ม Anti-Shock (ขาว) รอยที่เห็นนี้เป็นรอยบนฟิล์มนะครับ ตัวฟิล์มก็ยังไม่ฉีกขาด ส่วนจอก็ยังสวยใส ไร้รอยขีดข่วนเช่นเคย

ทั้งนี้ ใครที่สนใจจะหาฟิล์มกันกระแทก Focus Anti-Shock มาใช้งานคู่กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของตน ก็สามารถหาซื้อและติดฟิล์มได้ตามร้านจำหน่ายสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมทั่วไปได้แล้วครับ คาดว่าสินค้าน่าจะกระจายไปได้ทั่วถึงแล้ว จะซื้อมาติดเครื่องตนเอง ซื้อมาติดให้เครื่องแฟนก็สะดวกสบาย เรียกได้ว่าให้ทั้งความง่ายในการติดตั้ง และให้ทั้งความแข็งแกร่งในการปกป้องหน้าจอสมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตที่รักของคุณได้อย่างสบายๆ เลย

Tags:

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก